วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ประวัติความเป็นมา

     ที่มา : http://www.antiair12.info/joomla/index.php?limitstart=184

   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 (มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้ใช้ประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองขาม) และได้ปรับสภาพเป็นสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล จากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 เดิมมีสำนักงานอยู่ที่ ที่ว่าการอำเภอศรีราชา ต่อมาย้ายที่ทำการสำนักงานมาอยู่ที่ ที่ทำการกำนัน (สภาตำบล) หมู่ที่ 7 ต. หนองขาม ในปี 2541 มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย แบ่งหมู่ที่ 7 ออกเป็น 2 หมู่ โดยใช้ถนนศรีบุญเรือนเป็นแนวเขตในการแบ่งหมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 7 บ้านเนินแสนสุข หมู่ที่ 11 บ้านหนองเลง ปัจจุบันพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขามบางส่วน อยู่ในเขตเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม จึงมีพื้นที่ในการปกครอง 4 หมู่ คือ หมู่ที่ 678และ 11 เท่านั้น

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอศรีราชา

     เจ พาร์คศรีราชา (J Park Sriracha)


 เจ พาร์ค มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในสไตล์ญี่ปุ่นอย่างชัดเจน จัดสรรพื้นที่ไว้อย่างลงตัว ด้วยสถาปัตยกรรม อาคาร สวน และ องค์ประกอบประกอบต่างๆ ให้กลายเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นที่แท้จริง จนลืมไปเลยว่าที่นี้ คือ ญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และไม่เพียงแต่สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเพียงเท่านั้น มีกิจกรรมอีกมากมายใน J-Park อยู่ทุกเทศกาลเช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่น ทั้งฤดูซากุระ ฤดูใบไม้เปลี่ยนสี เทศกาลทานาบาตะ และอีกมากมาย ไม่ว่าจะสไตล์ดั้งเดิม หรือสไตล์ฟิวชั่น อย่างราเมน ซูซิ อาหารจานร้อน เทปปันยะกิ วากิว เนื้อย่างระดับพรีเมี่ยม ชาบูแบบญี่ปุ่น ขนมนำเข้าจากญี่ปุ่น ฯลฯ อีกทั้งยังมี Drugstore จากญี่ปุ่นอย่าง Tsuruha รวมถึง Daiso ที่มีข้าวของเครื่องใช้จากญี่ปุ่นให้เลือกอย่างคับคั่ง และ Supermarket ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง อย่าง Maxvalue


สวนเสือศรีราชา  


     ตั้งอยู่ที่ 341 หมู่ 3 ตำบลหนองขาม บนทางหลวงหมายเลข 36 กม.ที่ 20 เป็นสวนสัตว์ที่มีเสือโคร่งพันธุ์เบงกอลมากกว่า 30 ตัว และมีสัตว์นานาชนิด เช่น ฟาร์มจระเข้ อูฐ ช้าง จิงโจ้ กวาง นกอีมู และ สัตว์หายากให้ชมอีกมากมาย สำหรับผู้ที่เข้ามาชมสวนเสือศรีราชา ท่านสามารถให้อาหารสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารไว้บริการด้วยสวนเสือศรีราชาเปิดบริการตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. ผู้สนใจสามารถติดต่อสบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.  (02) 530-7412-3 และ (053) 296556-8

     น้ำตกชันตาเถร


     อยู่ห่างจากถนนสุขุมวิท ไปประมาณ 15 กม. เส้นทางที่เข้าไปยังสวนสัตว์เปิดเขาเขียว แยกซ้ายตรงทางเข้าวัดเขาไม้แดง มีป้ายบอกตรงทางแยกเข้าไปตามถนนราดยางอีก 7 กม. ถนนในช่วงที่ใกล้จะถึงน้ำตกเป็นทางชัน น้ำตกแห่งนี้มีความสูงถึง 5 ชั้น วัดระยะทางได้ประมาณ 1 กม. ทางเดินขึ้นลงอยู่ 2 ทาง คือ ทางเดินที่ลัดเลาะไปตามแนวน้ำตกหรือเดินตามโขดหินชั้นต่างๆ ของน้ำตก ในระยะหลังฤดูฝนเล็กน้อย น้ำตกจะสวยงามมาก ในฤดูแล้งแม้น้ำจะน้อยก็ยังมีสภาพที่ไปเที่ยวได้น้ำตกแห่งนี้อยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ และสถานีศึกษาธรรมชาต และสัตว์ป่าเขาเขียว ทางสถานีฯ มีกิจกรรมเข้าค่ายสำหรับเยาวชนที่มีความสนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสัตว์ป่าผู้สนใจโครงการค่ายเยาวชนเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ สามารถติดต่อสอบถามได้โดยส่งจดหมายถึงหัวหน้าสถานี ตู้ ป.ณ. 10 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20210

   ศรีราชา

   ที่มา : http://www.oknation.net/blog/lovecondo3/2010/07/29/entry-1  

        เป็นอำเภอชายทะเล อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 24 กม. แยกขวาจากถนนสุขุมวิท กม.ที่ 118 เข้าไปประมาณ 2 กม. ศรีราชาเคยเป็นสถานตากอากาศที่มีชื่อเสียงมาแต่เก่าก่อน เป็นที่ชุมชนหนาแน่นพอสมควร นักท่องเที่ยวมักแวะมาหาซื้อของทะเล และผลไม้ที่ขึ้นชื่อของศรีราชาคือ สับปะรด

  เกาะลอยศรีราชา

    ที่มา : http://www.coloroftheeasts.com/index.php?page=naturetourism_detail&cid=7&id=522 

    ตั้งอยู่ที่ถนนเทศบาล ตำบลศรีราชา ทางทิศเหนือของตลาดศรีราชา เกาะลอยเป็นเกาะเล็กๆ ใกล้ชายทะเลศรีราชา โดยมีสะพานเชื่อมกับชายฝั่ง บนเกาะมีสวนสาธารณะ และสวนเต่าทะเลบรรยากาศร่มรื่น ในเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ ทิศใต้ของเกาะมีเนินเขาเล็กๆ มีวัดตั้งอยู่นับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ได้บรรยากาศธรรมชาติจากไอทะเล และเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ได้โดยรอบ นอกจากนี้ยังเป็นท่าเรือสำหรับข้ามไปเกาะสีชังอีกแห่งหนึ่งด้วย

 สนามกอล์ฟบางพระ

     ที่มา : http://www.traveleastthailand.org/activity-detail.php?id

    ตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำบางพระ ห่างจากชลบุรีประมาณ 20 กม. แยกซ้ายจากถนนสุขุมวิทตรงกม.ที่ 113 เข้าไปอีกประมาณ 7 กม. ทางเข้าสนามกอล์ฟบางพระอยู่ตรงข้ามอ่างเก็บน้ำบางพระ สนามกอล์ฟบางพระเป็นสนามกอล์ฟมาตรฐาน 18 หลุม มีทิวทัศน์สวยงามมีร้านอาหาร มีที่พักชื่อโรงแรมบางพระรีสอร์ทติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัท บางพระกอล์ฟ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด สำนักงานกรุงเทพฯ โทร. (02) 285-0670-2 2850741-2 หรือ บางพระ โทร. (038) 341149-50

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว



                                      

   ที่มา : http://www.biogang.net/ecotourism_view.php?uid=47349&id=127403

   ตั้งอยู่ที่ 235 หมู่ 7 ตำบลบางพระ มีเนื้อที่ ประมาณ 5,000 ไร่ การเดินทางสามารถไปได้ 2 ทาง คือ จากถนนสุขุมวิท แยกเข้าเส้นทางอ่างเก็บน้ำบางพระ ผ่านสนามกอล์ฟบางพระเข้าไปประมาณ 19 กม. หรือจากทางหลวงหมายเลข 36 สายใหม่ (ชลบุรี-พัทยา-ระยอง) จะมีป้ายบอกทางเป็นระยะๆ สวนสัตว์แห่งนี้ดำเนินการโดยองค์การสวนสัตว์ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สวนสัตว์เปิดแห่งนี้ นักท่องเที่ยวจะได้เห็นสัตว์ต่างๆ มากกว่า 200 ชนิด จำนวนกว่า 5,000 ตัว ซึ่งสัตว์จะถูกปล่อยให้มีความเป็นอยู่อย่างธรรมชาติ ไม่ถูกกักขังไว้ในกรงนักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นชมสัตว์ได้อย่างใกล้ชิด เช่น ลิง ค่าง ช้าง กวาง ม้าลาย แพะ นกยูง สวนสัตว์เปิดเขาเขียวเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.
   

วัฒนธรรมและประเพณีของอำเภอ ศรีราชา

ประเพณี กองข้าว อำเภอศรีราชา 

       ที่มา : http://th.pattayadailynews.com

      ประเพณีกองข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวชลบุรีจัดขึ้นในหลายอำเภอ เช่น อำเภอเมือง อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอเกาะสีชัง เป็นต้น เนื่องจากชาวชลบุรีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมงทางทะเล จึงมีการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับทะเล มีความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ เทวดาอารักษ์ เจ้าป่าเจ้าเขา และพระแม่คงคา ชาวประมงจะออกเรือประมงหาปลาต้องเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกครั้ง เพื่อคุ้มครองภัยจากธรรมชาติ จากความเชื่อดังกล่าวจึงทำให้ชาวบ้านร่วมกันเซ่นไหว้ทูตผีปีศาจปีละครั้งบริเวณชายหาด
  ประวัติกล่าวว่าประเพณีกองข้าว นิยมจัดขึ้นหลังวันสงกรานต์เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีหลักฐานปรากฏ ในปัจจุบันประเพณีกองข้าวบางพื้นที่ได้เลิกปฏิบัติ เท่าที่ยังมีปรากฏอยู่ คือ เทศบาลเมืองศรีราชาเพียงแห่งเดียว และได้พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูมาตราบจนทุกวันนี้
  ประเพณีกองข้าวศรีราชา ตามที่ผู้สูงอายุหลายท่านกล่าวว่า ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานแล้ว เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายราศีเข้าสู่ปีใหม่ ที่เรียกว่า สงกรานต์ล่วงไปประมาณ ๓๔วัน ให้ชักชวนเพื่อนบ้านนำลูกหลานมารวมกันในเวลาแดดร่มลมตก อาหารคาวหวานและอาหารพื้นบ้าน เช่น ฮื่อแช่ ก๋วยเตี๋ยวบก ปิ้งงบ แจงลอน ขนมเต่า ขนมก้นถั่ว ฉาบไข่แมงดา เป็นต้น ไปรวมกันที่ชายทะเล แล้วแต่ละบ้านแบ่งอาหารคนละเล็กละน้อยใส่กระทงใบตอง ไปวางรวมกันบริเวณริมหาด แล้วจุดธูปคนละ ๑ ดอกแล้วกล่าวร้องเชิญภูตผีปีศาจที่สิงสถิตบริเวณหาด ผีไม่มีญาติที่หิวโหยมากินอาหารที่นำมากองไว้เชื่อว่าเมื่อภูตผีปีศาจอิ่มหมีพีมันแล้วท่านจะได้ไม่มารบกวน ทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัย และไม่เกิดภัยธรรมชาติ จึงเรียกว่า พิธีกองข้าวบวงสรวง
หลังจากนั้นชาวบ้านที่มารวมกัน เซ่นไหว้ทูตผีปีศาจนั่งรอจนกว่าธูปจะหมด ๑ ดอกแล้วกล่าวลาขอพรเสร็จแล้วก็จะตั้งวงรวมกันรับประทานอาหารที่เตรียมมาหากมีอาหารเหลือให้นำกองไว้เพื่อเป็นทานแก่สัตว์ ห้ามนำอาหารที่เหลือกลับบ้านเด็ดขาด
ผู้สูงอายุของชาวศรีราชา เล่าว่า การจัดพิธีกองข้าวตั้งแต่สมัยก่อนจะจัดบริเวณแหลมฟาน แหลมท้าวเทวา และบริเวณริมเขื่อน หน้าบ้านนายอำเภอ ทั้ง ๓ แห่งจะจัดเรียงกันไป เป็นเวลา ๓ วัน ต่อมาย้ายมาจัดบริเวณสำนักงานเทศบาลเพียงแห่งเดียว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ โดยจัดเป็นงานใหญ่ มีการละเล่นพื้นบ้าน แต่ชาวบ้านริมทะเลอยู่เหมือนเดิมแล้วจึงมาร่วมจัดพิธีที่บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาล และปัจจุบันประเพณี
  กองข้าวศรีราชาได้จัดขึ้นบริเวณสวนสุขภาพ (เกาะลอยศรีราชา)
พิธีกรรมและขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
๑. งานเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๙-๒๑ เมษายน จะจัดการละเล่นพื้นบ้านในภาคเช้า บ่ายจะจำหน่ายอาหารพื้นบ้านเป็นซุ้มโดยชาวบ้านในชุมชน อาหารทุกชนิดใช้ภาชนะเป็นกระทงใบตอง ตอนเย็นจะมีพิธีเปิดงานประเพณีกองข้าว มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม
๒. เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี ข้าราชการ พนักงานภาครัฐและเอกชน ประชาชนชาวศรีราชาจะสวมเสื้อคอกลมลายดอกทุกวัน
๓. สถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า ให้ความร่วมมือเปิดเพลงประเพณีกองข้าวศรีราชา
ประเพณีกองข้าวศรีราชา ในปัจจุบันได้กำหนดให้การประกอบพิธีบวงสรวง จัดทำศาลเพียงตา เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย ขนมต้มข้าว ขนมต้มแดง อาหารคาวหวาน ประจำท้องถิ่น คือ ฮือแช่ ก๋วยเตี๋ยวบก งบปิ้ง ขนมเต่า นมกับถั่ว ข้าวสวย และมีบายศรีปากชาม พราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีอัญเชิญเทพเทวดาอารักษ์ และภูตผีปีศาจเพื่อมารับเครื่องเซ่นไหว้ โดยจุดธูปคนละ ๙ ดอก เซ่นไหว้ร่วมกันเมื่อเสร็จพิธีก็ทำบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคล เมื่อเสร็จพิธีเชิญทุกคนร่วมกันรับประทานอาหารและชมการแสดง
ประเพณีกองข้าวศรีราชามีพิธีกรรม ขั้นตอน การปฏิบัติที่ควรแก่การอนุรักษ์เป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ลูกหลานเป็นผู้ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สร้างความสามัคคีให้ทุกคนในชุมชน มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอนุรักษ์อาหารพื้นบ้าน สร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างเอกลักษณ์ให้กับชาวศรีราชาให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและมีแห่งเดียวในประเทศไทย การสวมเสื้อคอกลมลายดอกใส่เทศกาลประเพณีสงกรานต์และประเพณีกองข้าว
จากสภาพปัจจุบัน ศรีราชาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ จึงทำให้ศรีราชามีสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเทศบาลเมืองศรีราชามีขนาดพื้นที่เล็กแต่มีผู้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างชาติ เช่น ชาวจีน เกาหลี ญี่ปุ่น บางพื้นที่ของศรีราชาเป็นชุมชนชาวญี่ปุ่น และนอกจากนั้นยังมีผู้ใช้แรงงานจากต่างจังหวัดมาอาศัยอยู่เพื่อประกอบอาชีพเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพชุมชนเปลี่ยนจากชุมชนชาวประมงเป็นชุมชนเมือง อาชีพประมงลดน้อยลงมาทำงานภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจลดน้อยลงจึงทำให้ความสำคัญของประเพณีกองข้าวลดน้อยลง การประกอบอาชีพเดิมของคนในท้องถิ่น ก็เปลี่ยนไปตามสภาพของสังคมปัจจุบัน

                                    ที่มา : www.youtube.com/watch?v=bpNwQUUOZOk


อาหารพื้นบ้านของ อำเภอศรีราชา

อาหารพื้นบ้าน ของ อำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี


 ปลาคก เป็นอาหารประจำของชาวจังหวัดชลบุรี ทำจากปลาตะเพียนต้มกับผักกาดดอง ตะไคร้ กระเทียม พริกแห้งและเกลือ ใส่ปลาไว้บนสุด เคี่ยวบนไฟอ่อนๆ รวมกันกับน้ำเป็ดพะโล้ สำหรับรับประทานกับข้าวต้มหรือข้าวสวย แหล่งผลิตปลาคกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี อยู่ที่ตำบลบางปลาสร้อย
     ขนมจีน ขนมจีนของจังหวัดชลบุรี มีเส้นยาว ขาวสะอาด เหนียว มีผู้สั่งไปใช้ในงานมงคลต่างๆ โดยเฉพาะในงานแต่งงาน เนื่องจากคนไทยมีความเชื่อกันว่า การใช้ขนมจีนเส้นยาวเหนียวใส่ไปใสพานขันหมาก จะทำให้ชีวิตของคู่แต่งงานอยู่ด้วยกันยืนยาว เหนียวแน่น ชนมจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัดชลบุรี คือ ขนมจีนที่ทำจากตลาดอำเภอบ้านบึง
      ข้าวหลาม เป็นอาหารหวานของชาวจังหวัดชลบุรี มีลักษณะพิเศษ คือ หวาน มัน ทำจากข้าวเหนียว น้ำกะทิ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วเผาให้สุก ข้าวหลามที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี คือ ข้าวหลามหนองมน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง ชลบุรี ขนมหน้าถั่ว ก้นถั่วและ ขนมหน้าหมู เป็นขนมรับประทานเป็นอาหารว่าง แต่บางครั้งใช้ในงาน บุญ ต่างๆ นับเป็นอาหารพื้นบ้านของจังหวัดชลบุรี ทำจากแป้ง ข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลมะพร้าว ผสมให้ เข้ากันใส่ถ้วยตะไลนำไปนึ่งประมาณ 15-20 นาที ขนมมีรส ชาติหวานมัน เรียกชื่อขนมตามลักษณะที่ทำ คือ ขนมหน้าถั่ว มีถั่วทอง (ถั่วเขียวผ่าซีก) ปิดหน้าถ้วย ตัวขนม ใช้น้ำตาลทรายแทนน้ำตาลมะพร้าว
        ขนมก้นถั่ว มีถั่วทองใส่ไว้ที่ก้นถ้วย ตัวขนมใช้น้ำตาล มะพร้าว
        ขนมหน้าหมู มีหมูสับ ถั่วลิสงคั่วบด ละใบหอมโรยหน้าถ้วย ตัวขนมเป็นเช่นเดียวกับขนมหน้าถั่ว
        แจงลอน เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวชลบุรี จัดอยู่ใน ประเภทอาหารคาว มีเครื่องปรุงเช่นเดียวกับห่อหมก ต่างกันแต่ว่า ห่อหมกใส่กะทิและมีผักต่างๆ เช่น ใบยอ ผักกาด ใบโหระพา แต่แจงลอนจะใส่มะพร้าวขูดที่ไม่ต้อง คั้นกะทิออก และไม่ใส่ผักเหมือนห่อหมก จะมีแต่น้ำพริก ผสมกับเนื้อปลาและมะพร้าวขูด นำมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ เสียบไม้ย่าง เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน เมี่ยงก๋วยเตี๋ยว ประกอบด้วยแผ่นก๋วยเตี๋ยวตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ประมาณเท่าฝ่ามือ แล้วนำมาห่อใส่เครื่องปรุง ซึ่งประกอบ ด้วยกุ้งแห้ง ถั่วลิสงคั่ว ไข่เจียวหั่นฝอย ถั่วงอกและ ใบกุยช่ายลวก แล้วหยอดน้ำจิ้ม ซึ่งปรุงด้วยน้ำปลา น้ำตาล มะนาว พริกขี้หนู ผักชี ปรุงรสให้ออกเปรี้ยว หวาน เค็ม แล้วแต่ชอบ ปัจจุบันมีการดัดแปลงเพิ่มเติม ส่วนประกอบ คือ เพิ่มหมูต้มหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หัวไชโป๊ว เต้าหู้แข็งหั่นเป็นลูกเต๋า
      ขนมต้มขาว ต้มแดง เป็นขนมไทยโบราณที่มีส่วนผสมระหว่างแป้งข้าวเหนียว มะพร้าว และน้ำตาลปีบ มีขั้นตอนการปรุงไม่ซับซ้อน มักนิยมจัดเป็นขนมสำรับเพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ ร่วม กับการทำบายศรี เช่น การแก้บน การขึ้นศาลพระภูมิ

สถานที่่ท่องเที่ยวในอำเภอ ศรีราชา

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=9l6wRIjWFDI


ที่มา : www.youtube.com/watch?v=qHWStASgcU0