วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อาหารพื้นบ้านของ อำเภอศรีราชา

อาหารพื้นบ้าน ของ อำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี


 ปลาคก เป็นอาหารประจำของชาวจังหวัดชลบุรี ทำจากปลาตะเพียนต้มกับผักกาดดอง ตะไคร้ กระเทียม พริกแห้งและเกลือ ใส่ปลาไว้บนสุด เคี่ยวบนไฟอ่อนๆ รวมกันกับน้ำเป็ดพะโล้ สำหรับรับประทานกับข้าวต้มหรือข้าวสวย แหล่งผลิตปลาคกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี อยู่ที่ตำบลบางปลาสร้อย
     ขนมจีน ขนมจีนของจังหวัดชลบุรี มีเส้นยาว ขาวสะอาด เหนียว มีผู้สั่งไปใช้ในงานมงคลต่างๆ โดยเฉพาะในงานแต่งงาน เนื่องจากคนไทยมีความเชื่อกันว่า การใช้ขนมจีนเส้นยาวเหนียวใส่ไปใสพานขันหมาก จะทำให้ชีวิตของคู่แต่งงานอยู่ด้วยกันยืนยาว เหนียวแน่น ชนมจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัดชลบุรี คือ ขนมจีนที่ทำจากตลาดอำเภอบ้านบึง
      ข้าวหลาม เป็นอาหารหวานของชาวจังหวัดชลบุรี มีลักษณะพิเศษ คือ หวาน มัน ทำจากข้าวเหนียว น้ำกะทิ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วเผาให้สุก ข้าวหลามที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี คือ ข้าวหลามหนองมน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง ชลบุรี ขนมหน้าถั่ว ก้นถั่วและ ขนมหน้าหมู เป็นขนมรับประทานเป็นอาหารว่าง แต่บางครั้งใช้ในงาน บุญ ต่างๆ นับเป็นอาหารพื้นบ้านของจังหวัดชลบุรี ทำจากแป้ง ข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาลทราย หรือน้ำตาลมะพร้าว ผสมให้ เข้ากันใส่ถ้วยตะไลนำไปนึ่งประมาณ 15-20 นาที ขนมมีรส ชาติหวานมัน เรียกชื่อขนมตามลักษณะที่ทำ คือ ขนมหน้าถั่ว มีถั่วทอง (ถั่วเขียวผ่าซีก) ปิดหน้าถ้วย ตัวขนม ใช้น้ำตาลทรายแทนน้ำตาลมะพร้าว
        ขนมก้นถั่ว มีถั่วทองใส่ไว้ที่ก้นถ้วย ตัวขนมใช้น้ำตาล มะพร้าว
        ขนมหน้าหมู มีหมูสับ ถั่วลิสงคั่วบด ละใบหอมโรยหน้าถ้วย ตัวขนมเป็นเช่นเดียวกับขนมหน้าถั่ว
        แจงลอน เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวชลบุรี จัดอยู่ใน ประเภทอาหารคาว มีเครื่องปรุงเช่นเดียวกับห่อหมก ต่างกันแต่ว่า ห่อหมกใส่กะทิและมีผักต่างๆ เช่น ใบยอ ผักกาด ใบโหระพา แต่แจงลอนจะใส่มะพร้าวขูดที่ไม่ต้อง คั้นกะทิออก และไม่ใส่ผักเหมือนห่อหมก จะมีแต่น้ำพริก ผสมกับเนื้อปลาและมะพร้าวขูด นำมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ เสียบไม้ย่าง เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน เมี่ยงก๋วยเตี๋ยว ประกอบด้วยแผ่นก๋วยเตี๋ยวตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ประมาณเท่าฝ่ามือ แล้วนำมาห่อใส่เครื่องปรุง ซึ่งประกอบ ด้วยกุ้งแห้ง ถั่วลิสงคั่ว ไข่เจียวหั่นฝอย ถั่วงอกและ ใบกุยช่ายลวก แล้วหยอดน้ำจิ้ม ซึ่งปรุงด้วยน้ำปลา น้ำตาล มะนาว พริกขี้หนู ผักชี ปรุงรสให้ออกเปรี้ยว หวาน เค็ม แล้วแต่ชอบ ปัจจุบันมีการดัดแปลงเพิ่มเติม ส่วนประกอบ คือ เพิ่มหมูต้มหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หัวไชโป๊ว เต้าหู้แข็งหั่นเป็นลูกเต๋า
      ขนมต้มขาว ต้มแดง เป็นขนมไทยโบราณที่มีส่วนผสมระหว่างแป้งข้าวเหนียว มะพร้าว และน้ำตาลปีบ มีขั้นตอนการปรุงไม่ซับซ้อน มักนิยมจัดเป็นขนมสำรับเพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ ร่วม กับการทำบายศรี เช่น การแก้บน การขึ้นศาลพระภูมิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น